ระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึง
ระบบที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมของหน้าที่งานด้านการขายและการตลาด
หลักการตลาด
การตลาด ถือเป็นหน้าที่งานทางธุรกิจที่ส่งมอบความพอใจให้กับลูกค้า
ณ ระดับกำไรจำนวนหนึ่ง และมุ่งสู่การกำหนดเป้าหมายใน 2 ประเด็น คือ
ความพยายามดึงดูดลูกค้ารายใหม่ด้วยคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า
และการรักษาลูกค้าที่มีอยู่เดิม โดยส่งมอบความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า
การตลาด หมายถึง
กระบวนการด้านการวางแผน การนำแนวคิด การกำหนดราคา
การกำหนดการส่งเสริมการตลาดและการกำหนดช่องทางการจำหน่ายของความคิด สินค้า
และบริการมาใช้
ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด
2 แนวทางคือ ปรัชญาด้านการตลาดและปรัชญาด้านการตลาดเพื่อสังคม
ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ คือ
1.จะต้องมีการตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
2.จะต้องมีการบูรณาการและความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์การ
3.จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว
และการให้ความสำคัญกับการจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์การ
2.
องค์ประกอบทางการตลาด
1. การแลกเปลี่ยนทางการตลาด คือ การโยกย้าย หรือ
โอนสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้
2. กลยุทธ์ทางการตลาด คือ การกำหนดตลาดเป้าหมาย
และการพัฒนาส่วนประกอบทางการตลาด
3. กิจกรรมทางการตลาด คือ
กิจกรรมที่ธุรกิจจำเป็นต้องกระทำเพื่อการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าคนสุดท้าย
4. ตำแหน่งงานทางการตลาด คือ
การกำหนดตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาดโดยบางตำแหน่งงานอาจต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
5. สถาบันทางการตลาด คือ
องค์การที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกิจกรรมการตลาดเฉพาะทาง
3. การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
เป็นวิถีทางหนึ่งของกระบวนการทางการตลาดซึ่งมุ่งเน้นความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นหลัก
อีกทั้งเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมซึ่งมีการแข่งขันสูง
โดยแบ่งกระบวนการออกแบบและส่งมอบข้อเสนอเป็น 3 ส่วน คือ
1. การเลือกคุณค่า องค์การจะต้องทำการวิเคราะห์
เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นและความต้องการของลุกค้า จะทำการแบ่งส่วนการตลาด
เพื่อกำหนดถึงตลาดเป้าหมาย และวางตำแหน่งทางการตลาดเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ขององค์การให้แตกต่าง
และอยู่ในตำแหน่งที่โดดเด่นจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันอย่างชัดเจน
2. การจัดหาคุณค่า
องค์การจะต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนระสมทางการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์ ราคา
และช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย
3. การสื่อสารคุณค่า
องค์การต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดในส่วนการสื่อสารการตลาดเข้าช่วยเพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์
ตลอดจนทำการชักชวนให้กลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายซื้อผลิตภัณฑ์
โดยสร้างรูปแบบของการสื่อสารที่มีผู้ส่งข่าวสาร
บทบาททางการตลาด
บทบาทและความสำคัญทางการตลาดซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์การทางธุรกิจทั่วไป ดังนี้
4.
บทบาททางการตลาด
1. ช่วยแก้ไขปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุนโดยดำเนินโปรแกรมการตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ
และอาศัยการวิจัยการตลาดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
2. ช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น
โดยมีแนวโน้มของการควบรวมบริษัทต่างๆเข้าด้วยกัน
3. ช่วยให้พนักงานที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกิจการ
เนื่องจากเป็นผู้ให้ความสำคัญกับลูกค้า และมีความชำนาญด้านการสื่อสารมากเป็นพิเศษ
สารสนเทศทางการตลาด
สารสนเทศทางการตลาด หมายถึง
สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด
ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ โดยใช้สนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดทั้งในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การตัดสินใจทางการตลาด การสื่อสารทางการตลาด และการพยากรณ์ยอดขาย
สารสนเทศทางการตลาด สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.
สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ
สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาดเพื่อสร้างยอดขายสินค้าให้กับธุรกิจ
2.
สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารการตลาด
และการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด
3.
สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ
สารสนเทศที่ได้มาจากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
จัดแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการตลาดออกเป็น4 ระบบ ดังนี้
1. ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ คือ
ระบบการบันทึกข้อมูลพ้นฐานในองค์การซึ่งนำมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด จำแนกได้เป็น 2 ระบบย่อย ดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศทางการขาย คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทราบยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง
1.2 ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือ
ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าทั้งในส่วนการขายสินค้า
การบริการหลังการขาย ตลอดจนประวัติการติดต่อกับลูกค้า
2. ระบบอัจฉริยะทางการตลาด คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข่าวกรองทางการตลาดซึ่งก็คือ
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งขันและสภาพแวดล้อมทางการตลาดด้านการแข่งขัน
เทคโนโลยี ลูกค้า เศรษฐกิจและสังคม
3. ระบบวิจัยการตลาด ธุรกิจเห็นว่าควรมีการวิจัยตลาด
ดังนี้
3.1 ธุรกิจขาดสารสนเทศที่ใช้ประเมินทางเลือกในการตัดสินใจ
3.2 ธุรกิจเกิดข้อขัดแย้งระหว่างนโยบาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์
3.3 ธุรกิจต้องการทราบผลลัพธ์ของแผนการตลาดที่กำลังนำมาใช้
3.4 ธุรกิจกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ปรับราคาใหม่ หรือเจาะตลาดใหม่
ระบบวิจัยการตลาด คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวิจัยการตลาด โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด หมายถึง
การนำเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล
วางระบบโดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ
ตัวแบบและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวม
แปลความหมายสารสนเทศทางการตลาด
เทคโนโลยีทางการตลาด
1.โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการตลาด คือ
ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์
ที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการตลาด
และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบการจัดการฐานข้อมูล
2. นวัตกรรมด้านร้านค้าปลีก
ตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านค้าปลีก มีดังนี้
2.1 มีการจัดหาเครื่องกราดตรวจรหัสแท่งแบบมือถือไร้สายไว้ภายในร้าน
2.2 ร้านค้าแบบคิออส
2.3 มีการติดตั้งระบบวิดีทัศน์ภายในร้านค้า
2.4 บางร้านค้าที่มีระบบการรับชำระเงินโดยเช็ค
ก็อาจติดตั้งระบบบันทึกการรับเช็ค
2.5 มีร้านค้าปลีกจำนวนหนึ่ง
ได้ติดตั้งเครื่องรับชำระค่าสินค้าอัตโนมัติภายในร้านค้าให้ลูกค้าทำการชำระค่าสินค้าด้วยตนอง
3. หน่วยขายอัตโนมัติ
การใช้โปรแกรมหน่วยขายอัตโนมัติมีประโยชน์สำหรับธุรกิจขนาดเล็กเพื่อช่วยให้ยอดขายของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะซอฟต์แวร์บนเว็บ ที่ช่วยจัดกระแสข่าวสารด้านการออกสัญญาซื้อขาย
4. การใช้งานอินทราเน็ต
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ภายในองค์การ
สำหรับหน้าที่งานด้านการบริหารการขายและการตลาด
โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมการขาย
5. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตและเว็บถือเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอำนาจมากสำหรับช่องทางการขายและการตลาดรูปแบบใหม่
ลูกค้าก็คือ ผู้บริโภค ผู้ค้าปลีกและธุรกิจอื่นๆ
6. การทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด
ผู้จัดการการตลาดมักจะต้องเผชิญหน้ากับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เช่น
การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การโฆษณา
ระบบประยุกต์ด้านโกดังข้อมูล
มักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบประยุกต์ด้านการปฏิบัติการหรือการวิเคราะห์ทางธุรกิจ
ระบบประยุกต์ด้านการปฏิบัติการทางธุรกิจจะมุ่งเน้นในด้านการให้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
สำหรับงานด้านการติดตามดูแล
และการควบคุมในองค์การระบบประยุกต์ด้านการวิเคราะห์ทางธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น