วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 3 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การวางแผนระบบสารสนเทศ
                1.แนวคิด การวางแผนระบบสารสนเทศคือการคาดการณ์ผลลัพธ์ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อประกอบการดำเนินงานทางธุรกิจ
                2. กลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์ ศาสตร์หรือศิลป์ที่ใช้ในการบังคับบัญชากองทัพ ในเวลาต่อมามีการนำกลยุทธ์ ไปใช้ในหลากหลายแนวทาง โดยเฉพาะในส่วนการดำเนินงานเชิงรุกของธุรกิจภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก
3. กระบวนการวางแผน จำแนกกระบวนการวางแผนสารสนเทศ ได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 2 การวางแผนสิ่งแวดล้อม
ขั้นที่ 3 การจับประเด็นกลยุทธ์
ขั้นที่ 4 การกำหนดกลยุทธ์
ขั้นที่ 5 การกำหนดขั้นตอนการทำงาน
                4.การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินภาระแวดล้อม
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดแนวทางกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดนโยบายสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนระยะยาวและระยะสั้น
ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวที่วางไว้               

การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มี 2 หัวข้อคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
                ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในธุรกิจ ซึ่งปกติองค์กรธุรกิจสมัยใหม่มีการใช้เทศโนโลยีสารสนเทศทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย อันส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างองค์การให้แบนราบและลดระดับชั้นของการจัดการลงเพื่อประโยชน์ทางด้านสื่อสาร
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล
1.3 เทคโนโลยีคอมเมิร์ช
1.4 เทคโนโลยีทางด้านการชำระหนี้ค่าสินหรือบริการ
1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล
1.6 เทคโนโลยีการทำดิจิทัลให้เหมาะที่สุด
1.7 เทคโนโลยีไร้สาย
1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน
1.9 เทคโนโลยีระบบประยุกต์ด้านการสื่อสาร
                2.แวนโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                Turban et al. ( 2006 , p. 27) ได้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ซึ่งผู้บริหาร ขององค์การควรคำนึง เพื่อทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งจะใช้ระบบสารสนเทศที่กำหนดได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
2.1ชิปปัจจุบันได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บควบคุมไปกับใช้คอมพิวเตอร์
2.2 สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์ เป็นวัตกรรมใหม่ในส่วนการเขียนโปรแกรมและการใช้คอมพิวเตอร์ โดยส่งผลให้มีการลดต้นทุนการเขียนโปรแกรม
2.3 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง ได้มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ชื่อ เอลิซา ซึ่งมีความสามารถในคำนวณด้วยความรวดเร็ว
2.4คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม มีการศึกษาค้นคว้า ซึ่งนำไปสู่การผลิตการผลิตหน่วยคำนวณที่เล็ก และหากการค้นคว้านี้ประสบสำเร็จ
2.5นาโนเทคโนโลยี ในอนาคต อาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุที่ มีความเร็วสูงสุด ซึ่งโครสร้างแบบครัตัสมีขนาดเล็ก

การได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ
                1.การจัดซื่อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์
รูปแบบที่ 1 ระบบพร้องสรรพ (Turnkey System) วอฟแวร์ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเสร็จสมบูรณ์ และผ่านการทดสอบดปรแกรมเรียบร้อยแล้ว
รูปแบบที่ 2 ระบบแกนหลัก (Outsourcing) วอฟแวร์ประกอบด้วยโครงสร้างของระบบพื้นฐาน    
                2.การใช้บริการภายนอก
                เป็นรูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์มักจัดอยู่ในรูปแบบของระบบสนับสนุนจากผู้ขายซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้น โดยผ่านการออกแบบ การทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า
                3.การพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในองค์การเอง

การพัฒนาระบบ
                แนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ในองค์การถือเป็นแนวทางที่อาจใช้เงินลงทุนและช่วงเวลาในการพัฒนาระบบค่อนข้างสูง ภายในองค์การเองแต่ระบที่ได้มักตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ในส่วนนี้จะกล่าวถึงหัวข้อย่อย 3 หัวข้อ ระเบียบวิธีพัฒนาระบบ วัฏจักรการพัฒนาระบบ
วิศวกรรมสารสนเทศ
                ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับการพัฒนาระบบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ระเบียบวิธีพัฒนาระบบ จำแนกระเบียบวิธีพื้นฐานได้ 5 วิธี ดังนี้
1.1 วิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก
1.2 วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ
1.3 วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว
1.4 วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น
1.5 วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
2. วัฏจักรการพัฒนาระบบ จำแนกวัฏจักรการพัฒนาระบบได้เป็น 5 ขั้นตอน
2.1 การวางแผนระบบ
2.2 การวิเคราะห์ระบบ
2.3 การออกแบบระบบ
2.4 การทำให้เกิดผล
2.5 การสนับสนุนระบบ
3. วิศวกรรมสารสนเทศ การพัฒนาระบบตามขั้นตอนของวัฏจักรการพัฒนาระบบโดยมักนำมาใช้ร่วมกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่างที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
3.1 การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศ
3.2 การวิเคราะห์ส่วนของธุรกิจ
3.3 การออกแบบระบบ
3.4 การสร้างระบบ
             4. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ
หน้าที่หนึ่งของระบบสารสนเทศ คือ การวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาวของธุรกิจ ดังนั้นในการพัฒนาระบบสารสนเทศควรต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน 3 ปัจจัย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ ดังนี้4.1 กลยุทธ์ของธุรกิจ
4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ   4.3 วัฒนธรรมองค์การ 

เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
แผนภาพกระแสข้อมูล เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างเพื่อแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งออกกับกระบวนการ ที่บ่งชี้ถึงขั้นตอนการทำงานของระบบ แต่ไม่สื่อให้เห็นถึงวิธีประมวลผลของระบบ

เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสงาน
แผนภาพกระแสงาน เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้พัฒนาระบบและผู้ใช้ระบบ เพื่อให้ความเข้าใจตรงกันถึงระบบที่กำลังเป็นเป้าหมายของการพัฒนา อีกทั้งยังใช้แสดงทิศทางของกระแสงานที่เกิดขึ้นภายในระบบ ทั้งในส่วนของต้นทางข้อมูลกระบวนการ และหน่วยเก็บข้อมูล รวมทั้งเอกสารส่งออกจากระบบ เพื่อนำส่งต่อผู้รับสารสนเทศ อีกด้วย

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
                1.แนวคิด
                2.กระบวนการจัดการ
                3.การจัดการทรัพยากรฮาร์ดแวร์
                4.การจัดการทรัพยากรซอฟต์แวร์
                5.การจัดการทรัพยากรข้อมูล
                6.การจัดการทรัพยากรระบบสื่อสารและเครือข่าย

โครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
โดยทั่วไปแล้ว องค์การมักจะให้ความสำคัญกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศขึ้นภายธุรกิจ เนื่องจากมีการรับรู้และเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งโครงสร้างทั่วไปของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง
3. หน่วยปฏิบัติการและบริการ

บุคลากรด้านสารสนเทศ
ในแต่ละหน่วยงานสารสนเทศขององค์การธุรกิจ จำเป็นต้องมีบุคลากรสารสนเทศปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยบุคลากรของหน่วยงานจะต้องมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสารสนเทศ ดังนี้
1. หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
2. นักวิเคราะห์ระบบ
3. ผู้เขียนชุดคำสั่ง
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ผู้จัดตารางเวลา
6. บรรณารักษ์
7. พนักงานบันทึกข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น