วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์


                ระบบสารสนเทศเพื่อทรัพยากรมนุษย์ เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเชิงกลยุทธ์ เชิงกลวิธี เชิงปฏิบัติการ โดยทีการปรับกระบวนการทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ทั้งในด้านการบริหารและการควบคุมด้านต่างๆ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
1.แนวคิดและความหมาย
                สุวิมล สิริทรัพย์ไพบูลย์ (2545, หน้า213) ได้ให้คำจำกัดความของการบริหารบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไว้ว่าการบริหารงานบุคคลหมายถึงกระบวนการในการสรรหาคัดเลือกและบรรจุบุคคลที่เหมาะสมเข้าทำงานในองค์การในจำนวนที่เพียงพอและเหมาะสมรวมทั้งการบำรุงรักษาด้วยการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ทันสมัยอยู่เสมอซึ่งมักจะถือเป็นกระบวนการการที่ทีความเกี่ยวข้องกับบุคคลตั้งแต่ก่อนบรรจุเข้าทำงานจนกระทั้งเกษียณอายุตลอดจนการให้ออกจากงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์
                2.1 หลักความรู้ บุคคลที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในองค์การจะต้องศึกษาหาความรู้ (Knowledge) เพิ่มเติมอยู่เสมอหากผู้ใดพัฒนาตนเองให้ตรงตามคุณสมบัติของตำแหน่งในสายอาชีพที่องค์การกำหนดไว้
                2.2 หลักความสมารถ บุคคลทุกคนล้วนมีคุณค่าต่อองค์การเสมอแต่หากบุคคลใดสามารถ (Competence) สร้างผลงานที่มีมูลค่าสูงสุดบุคคลนั้นจะเป็นผู้ทีคุณค่าสูงสุดด้วย
                2.3หลักความมั่นคงเป็นหน้าที่ขององค์การ ที่ต้องการทำให้บุคลากรเป็นผู้มีความมั่นคง (Security) ในงานอาชีพ
                2.4 หลักความเป็นกลางจากการเมือง ที่องค์การมีผู้มีอิทธิพลและมีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าผู้อื่นหรืออาศัยความเป็นเครือญาติเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
                จากหลักการทั้ง 4 ข้อนี้ ส่งผลให้องค์การเกิดภารกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1. การสรรหา
2. การพัฒนา
3. การธำรงรักษา
4. การใช้ประโยชน์
3.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2.ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี
3.บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตนเองทั้งในส่วนความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน
4.บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับจึงมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
5.บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6.องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงานและดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
7.องค์กรมีโอกาสที่พัฒนาความร่วมมือความร่วมใจในการทำงาน
8.สังคมอยู่ได้อย่างสันติเนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากกานทำงาน
9.ประเทศชาติมีฐานะที่ดีขึ้นเพราะองค์กรเติบโตอย่างมั่นคง

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ จำแนกระบบย่อยได้ 8 ระบบ ดังนี้
1. ระบบวางแผนอัตรากำลังคน ถูกใช้เป็นเครื่องมือกำหนดความต้องการบุคลากรขององค์การ ในส่วนอัตรากำลังคน และคุณสมบัติของบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของแต่ละงาน
2. ระบบวิเคราะห์งาน จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการวิเคราะห์งาน และการควบคุมตำแหน่งงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากกิจกรรมของการวางแผนอัตรากำลังคนซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกส่วนหนึ่ง
3. ระบบการสรรหาและคัดเลือก จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการสรรหาและคัดเลือก ก่อนที่จะบรรจุเข้าทำงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์งานและการควบคุมตำแหน่ง
4. ระบบบุคลากร จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการบรรจุเข้าทำงาน การลงทะเบียนประวัติบุคลากร แลการบันทึกเวลาเข้าออก ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากระบบบุคลากร จำเป็นต้องใช้ตลอดอายุการทำงานของบุคลากรแต่ละคน
5. ระบบค่าจ้างและเงินเดือน จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน รวมทั้งการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยที่ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือนของแต่ละองค์การอาจแตกต่างกันไป และเงื่อนไขในการคิดคำนวณรายได้สุทธิเพื่อนำมาคำนวณเงินเดือนจ่ายบุคลากรก็อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่นโยบายด้านการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนของแต่ละองค์การ
6. ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการรับเงินเดือนในขั้นพื้นฐาน ตลอดจนนำสารสนเทศที่ได้มาเป็นข้อมูลนำเข้าของการพัฒนาและฝึกอบรม การเลื่อนชั้นตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งการโยกย้ายงานไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอื่น
7. การพัฒนาและฝึกอบรม ในส่วนนี้จะครอบคลุมถึงกระบวนการในส่วนการจัดทำแผนการพัฒนาและฝึกอบรมรวมทั้งการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากร โดยจะถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้และความสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
8. ระบบสวัสดิการและผลประโยชน์ จะครอบคลุมถึงกระบวนการวางแผนด้านผลประโยชน์ของบุคลากร และการจ่ายค่าสวัสดิการบุคลากร ตลอดจนผลประโยชน์อื่น ซึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างแรงงาน เพื่อเป็นการธำรงรักษาบุคลากรให้มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน 

เทคโนโลยีการบริหารทรัพยากรบุคคล
1.โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Software) คือซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ตลาดซอฟแวร์สารสนเทศซึ้งผู้พัฒนาขึ้นใช้เฉพาะงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และจำเป็นต้องใช้อารมณ์ระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
1.1โปรแกรมบันทึกเวลาการทำงาน
1.2โปรแกรมจ่ายเงินเดือน
1.3โปรแกรมด้านบริหารทุนด้านมนุษย์
2.การใช้อินทราเน็ต อินทราเน็ตคือระบบเครือค่ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะภายในองค์การการพัฒนาอินทราเน็ตตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินเทอร์เน็ตและเวิลต์ไวต์เว็ป จึงถือเป็นข้อได้เปรียบในแง่ที่ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีความคุ้นเคยและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอยู่บ้างแล้ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศขององค์การ (Stair & Reynold,2006,t.326)
3.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอินทรอเน็ต นอกจากการใช้งานอินทราเน็ต ซึ่งเป็นการสื่อสารเฉพาะภายในองค์การเท่านั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังจำเป็นต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกองค์การด้วย เช่น ผู้สมัครงานสถาบันการศึกษา สำนักจัดหางาน สหภาพแรงงาน ตลอดองค์การคู่แข่งขันทางธุรกิจอินเทอร์เน็ตคือเทคโนโลยีใช้สำหรับการสื่อสารและการประสานงานระหว่างบุคคลภายในและภายนอกองค์การโดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อรับรองกระบวนการทำงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เว็บศูนย์รวมด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์รับสมัครงาน บริการว่าจ้างงานออนไลน์ และบริการฝึกอบรมออนไลน์ เนื่องจากนี้ผู้บริหารสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสื่อสารกับบุคลากรจำนวนมากซึ่งอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้ภายในเวลาอัตราเร็วซึ่งอธิบายแย่งหัวข้อ
3.1การจัดองค์การเสมือนจริง           3.1.1การประชุมทางไกล
3.1.2การประชุมผ่านวีดิทัศน์
3.2การสรรหาอิเล็กทรอนิกส์
3.3เว็บศูนย์รวมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
3.4การประเมินผลการปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น