1. จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ
ตอบ
ตัวอย่างเช่น การปรับตราสินค้า การส่งจดหมายทางตรงถึงลูกค้า
และการจัดทำเว็บไซน์เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้ธุรกิจ
2 การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาf
ตอบ 1. การโฆษณา (advertising)
2. การส่งเสริมการขาย (sales promotion)
3. การขายโดยพนักงานขาย (personal
selling)
4. การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ (Publicity and public relations)
5. การตลาดทางตรง (Direct marketing)
4. การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ (Publicity and public relations)
5. การตลาดทางตรง (Direct marketing)
3 ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไร
จึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้
ตอบ ลักษณะของกิจกรรมทางการตลาดเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาวได้นั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้คือ
1 จะต้องเป็นลักษณะการสื่อสารแบบตัวต่อตัวอย่างเป็นกันเอง
2 จะต้องส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าในระยะยาว มากกว่าที่จะเป็นการหวังผลยอดขายในระยะสั้น
3 จะต้องเป็นการสื่อสารแบบสองทางและสร้างโอกาสให้ลูกค้าตอบกลับมายังบริษัท
4 กิจกรรมทางการตลาดที่ใช้จะต้องสร้างประโยชน์ให้ทั้งฝ่ายบริษัทและกับลูกค้า\
4 จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า
การจัดหาคุณค่าและการสื่อสารคุณค่า
ตอบ การตลาด
(marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจเนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า
ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ
ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า
ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing
mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ
ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product)
ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps
โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ
และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1.การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ
ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
2.การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด
โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ
โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น
การสังเกตการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม
การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด
แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
3.คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า
"รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง"
แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ
โดยข้อมูลจากการดำเนินงาน
ของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม
ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน
เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย
การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น
4.กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด
เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ
และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
5.ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ
การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ
โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว
ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือ เปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน
ที่มา นุชนาฏ .(2552).http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=472.0
ที่มา นุชนาฏ .(2552).http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=472.0
5 กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
ตอบ
ระบบสารสนเทศทางการขาย คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทราบยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง
โดยจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่น เช่น
ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่น ๆ ทางการผลิต
ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในส่วนประวัติการซื้อและรับชำระเงินของลูกค้า
ระบบโลจิสติกส์ ในส่วนการรับสินค้าขาเข้า และการส่งสินค้าขาออก เป็นต้น
ซึ่งต้องมีการประมวลผลใบสั่งขาย และการออกรายงานการขายเพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป
6 จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
6 จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
ตอบ 1. เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพ
การขายเพิ่มขึ้น
2. เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้สามารถครองใจลูกค้ามากขึ้น
3. เพื่อสามารถนำไปขยายตลาดสำหรับลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
4. เพื่อมีส่วนในการบริหารจัดการการทำงานของพนักงานขาย การแบ่งเกรดลูกค้า
อะไรบ้างที่ลูกค้าชอบ/ไม่ชอบ หรือ แม้แต่การวิเคราะห์สื่อโฆษณา ที่ใช้ว่าได้ผลหรือไม่,
มีคู่แข่งเป็นใครบ้าง, พนักงานขายเข้าไปพูดคุยอะไรกับลูกค้าบ้าง,
ลูกค้าโทรเข้ามาสอบถามเรื่องสินค้าหรือบริการตัวไหนเป็นพิเศษ,
ฯลฯ
5. เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์แบบโชว์เบอร์เพื่อเก็บหมายเลขโทรศัพท์
และ สามารถเชื่อมโยงการสืบค้นข้อมูลประวัติลูกค้ากรณีที่มีการโทรศัพท์เข้า
7. ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพราะเหตุใด
ตอบ โปรแกรม
จัดการลูกค้าสัมพันธ์ โปรแกรมวางแผนทรัพยากรองค์การ
ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์บนเว็บ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการงานด้านการพบปะลูกค้าและความสามารถด้าน การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า
การแนะนำสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าเป็นต้น
8 ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย
ตอบ จะช่วยสนับสนุนงานด้านการวิจัยการตลาด
โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด
การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อการกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาด และอื่นๆ
9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านค้าปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
ตอบ Seven – 11 , Big c supercenter เป็นต้น
10 ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนตัดสินใจอย่างไร
ตอบ
ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการพยากรณ์ยอดขาย
จะเริ่มตั้งแต่มีการรับเข้าข้อมูลยอดขายในอดีตจากแฟ้มขาย
ข้อมูลอุปสงค์ของตลาดจากแฟ้มข่าวกรอง ข้อมูลค่าใช้จ่ายทางการตลาดจากแฟ้มงบประมาณและข้อมูลส่วนแบ่งตลาดจากแฟ้มวิจัยตลาด
โดยใช้โปรแกรมพยากรณ์ยอดขายประมวลผล เพื่อออกรายงานต่างๆ เช่น รายงานพยากรณ์ยอดขาย
โควตาขายและงบประมาณการขาย เพื่อนำส่งผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจทางการตลาดต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น