1. ระบบสารสนเทศคือ
ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์
ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง
และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม
จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ
และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ
การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
2.การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
ระบบสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การและอุตสาหกรรม
ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์การ
โดยที่ระบบสารสนเทศจะส่วนช่วยให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ
และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล เพื่อให้การทำงานมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงต้องทำความเข้าใจถึงวิธีใช้งานและโครงสร้างของระบบสารสนเทศ สามารถสรุปส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ได้ 3 ส่วน คือ
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ
3. การแสดงผลลัพธ์ เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้
สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ
รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ
จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน (กิติมา เพชรทรัพย์,
2548)
3.การพัฒนาและการใช้ระบบสารสนเทศ
1) การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional
SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน
วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC
2) การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 : ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้
ขั้นที่ 2 : พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก
ขั้นที่ 3 : นำต้นแบบมาใช้
ขั้นที่ 4 : ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ
3) การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user
Development)
4) การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing)
เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ
การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า
IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing
5) การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์
(Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา
เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง
หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้
องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง
เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว
จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง
และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น(สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
4.ระบบสารสนเทศ (IS) ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
(IT) อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology: IT) คือ
เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล
และการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีระบบ
และเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากต่อองค์กร
ส่วนระบบสารสนเทศ (Information
System: IS) คือ
ระบบงานที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ในการรวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ
และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานขององค์กร
เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนในการบริหารและการตัดสินใจขององค์กร
5.
จะเรียนอะไรในวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
อยากทราบเนื้อหาทั้งหมดของวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อรับความรู้ที่แปลกใหม่ด้านการจัดการระบบสารสนเทศธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจและประสบการณ์ในอนาคตได้
อ้างอิง
กิติมา เพชรทรัพย์.2548.
สารสนเทศเพื่อการจัดการ.[Online] Available URL ;
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/108/mis1.html
สุชาดา
กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ:
ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ เข้าถึงได้จาก
http://thailocal.nso.go.th/nso-cms/itdevelop.html?start=3
ค้นเมื่อ
13/06/255
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น